ข้อมูลการออกอากาศ ของ ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023

ตอนที่ 1 : การแข่งขันทำอาหารจากวัตถุดิบจากท้องทะเลไทย

ออกอากาศ 5 กุมภาพันธ์ 2565

ในรอบแรกผู้เข้าแข่งขันจะต้องไปทำการแข่งขันที่เกาะขาม อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนั่งเรือจากฝั่งมายังเกาะขามด้วยเรือส่วนตัว และว่ายน้ำเข้ามายังหาดที่เป็นสถานที่แข่งขัน

  • Quickfire Challenge รอบที่ 1: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน จะต้องเตรียมวัตถุดิบ 2 ชนิด โดยจะต้องทำอย่างรวดเร็วและปราณีตที่สุด ซึ่งวัตถุดิบได้แก่ "กั้ง" จากบ้านแหลมสน อ่าวใหญ่ จังหวัดตราด จำนวน 10 ตัว ซึ่งมีเกณฑ์คือ เนื้อต้องไม่ฉีกขาด หัวต้องติดอยู่กับตัว และหางอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และ "ปลาหมึก" จำนวน 3 ตัว นำมาทำเป็นซาชิมิ โดยการลอกหนัง จัดการกับตาและปาก และแล่ให้เป็นเส้นตรงความกว้างไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ในรอบนี้ผู้ที่ทำได้เร็วที่สุด คือ เชฟเชษฐ์ ทำให้เขาเป็นผู้ชนะ โดยจะผ่านเข้ารอบทันทีและได้รับรางวัลพิเศษ คือ ห้องพักพูลวิลล่าของ "โซเนวา คีรี เกาะกูดรีสอร์ท" เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน มูลค่า 2 แสนบาท ส่วน 3 คนสุดท้ายของรอบนี้คือ เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค ทำให้ทั้งสามคนต้องเข้าแข่งขันในรอบ Elimination Challenge โดยอัตโนมัติ
  • ผู้ชนะ: เชฟเชษฐ์
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 คนสุดท้าย: เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค
  • Quickfire Challenge รอบที่ 2: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 12 คน จะต้องเตรียมวัตถุดิบ "หอยมะระ" วัตถุดิบท้องถิ่นของจังหวัดตราด โดยจะต้องนำเนื้อหอยมาแล่ให้มีความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร จำนวน 2 ตัว หรือ 30 ชิ้น ในรอบนี้ผู้ที่ทำได้เร็วที่สุด คือ เชฟพลอย และจะได้รับรางวัลพิเศษ คือ ห้องพักพูลวิลล่าของ "โซเนวา คีรี เกาะกูดรีสอร์ท" เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน มูลค่า 2 แสนบาท เช่นเดียวกัน ส่วน 3 คนสุดท้ายในรอบนี้ ได้แก่ เชฟมีน เชฟกุ๊ก และเชฟเกด ทำให้ทั้งสามคนต้องเข้าแข่งขันในรอบ Elimination Challenge ร่วมกับ เชฟกอล์ฟ เชฟอิน็อค และเชฟแจ๊ค ส่วนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 คนสุดท้าย: เชฟมีน เชฟกุ๊ก และเชฟเกด
  • Elimination Challenge: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนจะต้องทำอาหารจากวัตถุดิบจากท้องทะเลไทย ซึ่งในรอบนี้มีวัตถุดิบ 6 ชนิด ได้แก่ กั้ง ปลาหมึก หอยมะระ ปลาย่ำสวาท ปูม้า และแมงกะพรุน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสุ่มหยิบมีดเพื่อเลือกวัตถุดิบและรอบในการแข่งขัน ซึ่งจะมี 3 รอบ แต่ละรอบจะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน โดยผู้ที่ได้หมายเลข 1 จะต้องเริ่มทำอาหารก่อน เมื่อเวลาผ่านไป 15 นาที ผู้ที่ได้หมายเลข 2 จะได้เริ่มทำอาหาร และผู้ที่ได้หมายเลข 3 จะได้เริ่มทำอาหารหลังจากคู่ที่ 2 เป็นเวลา 15 นาที ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีเต็มเท่ากัน เมื่อแต่ละคู่หมดเวลาจะต้องเสิร์ฟทันที ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน ได้เลือกวัตถุดิบและรอบการแข่งขันดังต่อไปนี้
คู่การแข่งขันผู้เข้าแข่งขันวัตถุดิบ
คู่ที่ 1เชฟแจ๊คกั้ง
เชฟกอล์ฟปลาหมึก
คู่ที่ 2เชฟอิน็อคปลาย่ำสวาท
เชฟเกดหอยมะระ
คู่ที่ 3เชฟมีนแมงกะพรุน
เชฟกุ๊กปูม้า
ในรอบนี้มีกรรมการรับเชิญ 4 ท่าน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารจำนวน 4 จาน และมีปริมาณเพียงพอในการชิมของกรรมการทั้ง 8 คนหลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะยังไม่ทราบข้อติชมของคณะกรรมการจนกว่าจะกลับไปยังสตูดิโอของท็อปเชฟ โดย 3 คนที่ทำอาหารผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ เชฟอิน็อค โดยมีปัญหาที่เนื้อปลาย่ำสวาทสุกเกินไป ทำให้เนื้อปลาแห้งมาก เชฟมีน โดยมีปัญหาที่แมงกะพรุนหนาเกินไป ไก่กงฟีมีรสจืด และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และเชฟแจ๊ค โดยมีปัญหาที่เนื้อกั้งสับละเอียดทำให้ไม่มีรสสัมผัส และมีเศษเปลือกกั้งติดมา รวมถึงอาหารในจานไม่ใช่บูยาแบ็ส ไม่ใช่ซุปเกาหลี และไม่ใช่รสชาติของแกงส้ม ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟแจ๊ค
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟอิน็อค เชฟมีน และเชฟแจ๊ค
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแจ๊ค

ตอนที่ 2 : การแข่งขันจับคู่โปรตีนหลักกับซอส

ออกอากาศ 12 กุมภาพันธ์ 2565
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ ได้มีแขกรับเชิญ คือ "บังฮาซัน" เจ้าพ่อของทะเลตากแห้ง ซึ่งการแข่งขันในรอบนี้จะใช้เพลงของบังฮาซันประกอบภารกิจ นั่นคือ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเดินวนรอบครัว โดยจะมีสเตชันทั้งหมด 15 สเตชัน เมื่อเพลงหยุดจะต้องทำอาหารที่สเตชันที่ตนเองหยุด ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอด 30 นาที วัตถุดิบที่อยู่บนสเตชันทั้ง 15 เป็นวัตถุดิบจากภาคใต้ ได้แก่ ปลาอินทรีเค็ม ปลาวง ปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้งและกล้วยหอม ปลาทู กุ้งมังกร 7 สี ปลาข้าวสารแห้งและลูกหยีตากแห้ง ปลากุเลา หอยแมลงภู่ตากแห้ง กะปิและไข่หอยเม่น น้ำบูดูและมังคุด หอยนางรม สะตอ ใบเหลียง ไก่เบตง ในรอบนี้ ผู้ที่ทำผลงานผิดพลาดมากที่สุด 3 คน ได้แก่ เชฟเทียน เชฟโอ๊ต และเชฟณัฐ และ 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ เชฟเชษฐ์ เชฟโน้ต และเชฟจารึก ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟจารึก จากวัตถุดิบ ปลาทู
  • ผู้ชนะ: เชฟจารึก
  • Elimination Challenge: เนื่องจากเชฟจารึกเป็นผู้ชนะในการแข่งขันรอบ Quickfire Challenge ทำให้ได้รับสิทธิ์ในการผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และได้รับสิทธิ์ในการเป็นกรรมการร่วมตัดสินอีกด้วย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องทำงานเป็นคู่ ซึ่งจะต้องจับฉลากเลือกโปรตีนและซอส โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 14 คนได้แบ่งทีมดังนี้
สีของทีมผู้เข้าแข่งขันโปรตีนผู้เข้าแข่งขันซอส
สีส้มเชฟแม็กซ์กี้ขาแกะเชฟกุ๊กซอสแกงอ่อมเพี๊ย
สีเทาเชฟเดชหมึกยักษ์ทาโกะเชฟณัฐซอสแกงเหลือง
สีฟ้าเชฟพลอยเนื้อกวางเชฟเทียนซอสแกงเขียวหวาน
สีแดงเชฟเชษฐ์กระต่ายเชฟอิน็อคซอสแกงฮังเล
สีเหลืองเชฟกอล์ฟม้ามเชฟมีนซอสแกงไตปลา
สีเขียวเชฟโน้ตปลาไหลญี่ปุ่นเชฟโอ๊ตซอสฮอแลนเดซ
สีขาวเชฟบิ๊กนกพิราบเชฟเกดซอส XO
ในการแข่งขันครั้งนี้ จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน โดยจะตัดสินจากสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละคน มีเวลา 90 นาทีในการแข่งขัน โดยจะต้องเสิร์ฟอาหารจำนวน 8 จาน และงบประมาณคู่ละ 4,000 บาท เพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบที่แม็คโคร สาขาศรีนครินทร์ โดยมีเวลาในการเลือกซื้อทั้งหมด 30 นาที และกรรมการที่จะร่วมตัดสิน ได้แก่ เชฟแพม เชฟอาร์ต เชฟวิลแมน เชฟจารึก และกรรมการพิเศษ ได้แก่ เชฟโอลิวิเยร์ คาสเทลล่า, คุณสันติ เศวตวิมล, หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ และ และหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ เป็นผู้ร่วมตัดสิน หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกทีมแล้ว มี 2 ทีมที่ทำได้ดีที่สุด คือ ทีมสีเหลือง และ ทีมสีส้ม และผู้ชนะในรอบนี้ ได้แก่ เชฟมีน ส่วน 3 ทีมที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด ได้แก่ ทีมสีเขียว มีปัญหาที่ซอสฮอแลนเดสที่ไม่สมบูรณ์ และปลาไหลญี่ปุ่นที่หนังเหนียว ทีมสีแดง มีปัญหาที่เนื้อกระต่ายดิบ และซอสแกงฮังเลไม่ถูกต้อง และทีมสีขาว มีปัญหาที่ซอส XO ไม่ถูกต้อง และมูสซอส XO ดิบ นอกจากนี้ เชฟเกดได้ทำผิดกติกาของรายการโดยนำผงชูรสและสาร Transglutaminase (เอนไซม์ปรับปรุงเนื้อสัมผัสอาหาร) เข้ามาใช้ในรายการ ดังนั้น ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ เชฟเกด
  • ผู้ชนะ: เชฟมีน
  • ทีมที่ตกเป็นสามทีมที่แย่ที่สุด: ทีมสีเขียว ทีมสีแดง และทีมสีขาว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเกด

ตอนที่ 3 : การแข่งขันทำอาหารในงานกาลาการกุศล

ออกอากาศ 19 กุมภาพันธ์ 2565
  • Quickfire Challenge: ในรอบ Quickfire Challenge ประจำสัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องหยิบวัตถุดิบที่ออกมาจากสายพาน โดยสายพานจะหมุนจำนวน 3 รอบ ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบได้ 3 อย่าง เพื่อเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร และเลือกวัตถุดิบในรอบใดก็ได้ มีเวลาในการแข่งขัน 30 นาที 3 จานที่แย่ที่สุดเป็นของ เชฟอิน็อค เชฟมีน และเชฟกุ๊ก และ 3 จานที่ดีที่สุด เป็นของ เชฟกอล์ฟ เชฟเชษฐ์ และเชฟพลอย ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เชฟกอล์ฟ
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟอิน็อค เชฟมีน และเชฟกุ๊ก
  • ผู้ชนะ: เชฟกอล์ฟ
  • Elimination Challenge: จากการที่ เชฟกอล์ฟและเชฟเชษฐ์ เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบ Quickfire Challenge ทั้งสองคนจะได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการ ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อในรอบ Elimination Challenge โดยสัปดาห์นี้เป็นโจทย์กาลาดินเนอร์การกุศล เพื่อระดมทุนบริจาคให้กับสภากาชาดไทย จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับวัตถุดิบไทยสู่อาหารในรูปแบบ Fine Dining ทั้งหมด 10 โต๊ะ เสิร์ฟให้แขก 100 คน (รวมกรรมการ 6 คน) โดยแต่ละคนจะต้องเสิร์ฟคอร์สของตนเอง ทั้ง 12 คนจะต้องวางแผนการทำอาหารกันเอง และบริหารงบกันเองในงบประมาณ 120,000 บาท ในเวลา 60 นาทีในการประชุมและสั่งวัตถุดิบผ่านช่องทางออนไลน์ จาก Makro PRO ก่อนที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไปทำอาหารในครัวของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน ได้ประชุมกันและมีข้อสรุปดังนี้
ลำดับที่ประเภทคอร์สวัตถุดิบหลักผู้เข้าแข่งขัน
1ออเดิร์ฟ (Hors d'oeuvre)มะเฟืองและมังคุดเชฟจารึก
2อามูส บุช (Amuse-bouche)หอยขมและหอยแครงเชฟบิ๊ก
3อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)ปูนาเชฟแม็กซ์กี้
4ปลากรอบเชฟเดช
5ปลาหมึกตากแห้งเชฟกุ๊ก
6สลัด (Salad)ดอกโสนเชฟมีน
7ซุป (Soup)ไข่ปลาสลิตเชฟณัฐ
8อาหารจานปลา (Fish)ปลาช่อนเชฟโน้ต
9อาหารจานหลัก (Main Course)กุ้งมังกร 7 สีเชฟเทียน
10หมูป่าเชฟอิน็อค
11ของหวาน (Dessert)ข้าวโพดเชฟพลอย
12ของหวานตบท้าย (Petit Four)ขนุน แตงไทย ใบเตยเชฟโอ๊ต
ในการทำอาหาร ผู้เข้าแข่งขันจะต้องช่วยกันทำงานเป็นทีม โดยจะมีเมนูหลักที่ตนเองรับผิดชอบ การเสิร์ฟอาหารจะเสิร์ฟทีละ 2 คอร์ส หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารทุกจานแล้ว ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด 3 คน คือ เชฟพลอย เชฟณัฐ และ เชฟบิ๊ก และผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ คือ เชฟณัฐ และจานที่แย่ที่สุดที่สุด 5 คน คือ เชฟจารึก เชฟโน้ต เชฟเดช เชฟมีน และเชฟโอ๊ต โดยเชฟจารึกและเชฟโน้ต มีสิ่งแปลกปลอมในอาหาร ได้แก่ หนังยางและเศษพลาสติก ตามลำดับ แต่ยังมีรสชาติที่ดีและชูวัตถุดิบหลัก ทำให้ยังไม่ใช่ 3 จานที่แย่ที่สุด เชฟโอ๊ต มีปัญหาที่รสชาติของใบเตยที่ขม ทำให้ไม่สามารถรับประทานได้ เชฟมีน มีปัญหาที่การจัดจาน ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และดอกแคเสิร์ฟทั้งก้าน และเชฟเดช เสิร์ฟแซลมอนรมควันสำเร็จรูปและครีมชีส และกลบกลิ่นปลากรอบทั้งหมด รวมถึงมีของตกแต่งที่ไม่สามารถรับประทานได้ ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เชฟเดช
  • ผู้ชนะ: เชฟณัฐ
  • ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: เชฟโอ๊ต เชฟมีน และเชฟเดช
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเดช